วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แบบทดสอบหลังเรียน

1.  สัญลักษณ์ในข้อใดใช้เขียนแทนเซต
            ก.         (      )                                       
            ข.         {    }
            ค.         [     ]                                        
            ง.          ...
                       
2.     เป็นสัญลักษณ์แทนอะไรของเซต
            ก.         ชื่อเซต                                    
            ข.         สมาชิกของเซต
            ค.         ประเภทของเซต                                 
            ง.          ลักษณะของเซต

3.  ในการเขียนสมาชิกของเซตแต่ละตัวจะคั่นด้วยเครื่องหมายในข้อใด
            ก.          ,                                                         
            ข.         (     )
            ค.         ;                                                          
            ง          ç

4.  1  เป็นสมาชิกของเซตในข้อใด
            ก.         เซตของกำลังสองของ  1
            ข.         เซตของจำนวนนับที่ไม่เท่ากับ  0
ค.         เซตของจำนวนเต็มที่ยกกำลังสองแล้วได้  1
ง.         เซตของจำนวนเต็มที่ไม่เท่ากับ  1  หรือ  – 1 

 5.  จำนวนในข้อใดไม่เป็นสมาชิกของเซตของตัวประกอบของ  20
            ก.         2                                                         
            ข.         4
            ค.         5                                                         
            ง.         12

6.  สมาชิกของเซตในข้อใดเท่ากับ  2 , 3 , 5 , 7 
            ก.         เซตของจำนวนคี่บวก
            ข.         เซตของจำนวนนับตั้งแต่  2  ขึ้นไป
ค.         เซตของจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า  1 
ง.         เซตของจำนวนเฉพาะระหว่าง  0  ถึง  9

7.  เซตในข้อใดมีสมาชิก  4  ตัว  
            ก.         เซตของตัวอักษรในคำว่า   น่ารัก    
ข.         เซตของตัวอักษรในคำว่า   พรรณ   
            ค.         เซตของตัวอักษรในคำว่า   บอบบาง                      
ง.         เซตของตัวอักษรในคำว่า   เทศกาล 

8.  ให้  B  =  { x çเป็นสระในภาษาอังกฤษ }  เป็นการเขียนเซตแบบใด            
           ก.         แบบแจกแจงสมาชิก
            ข.         แบบบรรยายลักษณะ                                      
            ค.         แบบไม่แจกแจงสมาชิก
            ง.         แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก

9.  ให้  A  เป็นเซตของตัวอักษรในคำว่า  “ SEVEN  “ เขียนเซต  A
      แบบแจกแจงสมาชิกได้ดังข้อใด
ก.         { SEVN }
            ข.         { S  E  V  N }
ค.         { S , E , V ,  N }                                             
ง.         { S , E , V , E , N }

10.  ข้อใดไม่ใช่การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก
            ก.         { 1 , 2 , 3 }                                                     
            ข.         2 , 4 , 6 , ... }           
            ค.         { a , b , c , … , z }                              
            ง.         { x ç เป็นจำนวนเต็ม }

11.  ให้  S  =  { x çเป็นจำนวนเต็ม  และ  – 3 < x  0 } 
       เขียนเซต  S  แบบแจกแจงสมาชิกได้ดังข้อใด
            ก.         S  =  { – 3 , 0 }                                               
ข.         S  =  { – 2 , – 1}                                 
ค.         S  =  { – 2 , – 1 , 0 }                                       
ง.         S  =  { – 3 , – 2 , – 1 , 0 }

12.  ให้  H  =  { x çx  เป็นจำนวนคู่ระหว่าง  1  ถึง  10 }  
       เซตในข้อใดหมายถึงเซต  H
ก.         { 2 , 4 , 6 , 8 }                                    
ข.         { 2 , 4 , 6 , 8 , 10 }                             
ค.         { 2 , 4 , 6 , 8 , … }                             
ง.         { 1 , 2 , 3 , … , 10 }
                                                 
13.  ให้  A  =  { 1 , 3 , 5 , 7 }  เซตในข้อใดหมายถึงเซต  A 
            ก.         A  =  { x çx  เป็นจำนวนเต็ม }                                   
ข.         A  =  { x çx  เป็นจำนวนเต็มคี่ }
            ค.         A  =  { x çx  เป็นจำนวนคี่ตั้งแต่ 1 ถึง 7 }     
ง.         A  =  { x çx  เป็นจำนวนเต็มที่น้อยกว่า 7 }

14.  ถ้า  A  =  { x çx  เป็นจำนวนนับที่  3  หารได้ลงตัว  }  เขียนเซต  A
       แบบแจกแจงสมาชิก  ได้ดังข้อใด
            ก.         { 3 , 6 , 9 }                                         
            ข.         { 6 , 9 , 12 }   
            ค.         { 3 , 6 , 9 , … }
            ง.         { 6 , 9 , 12 , … }

15.  ให้  R  =  { 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , … }  เขียนเซต  R  แบบบอกเงื่อนไข
       ของสมาชิกได้ดังข้อใด
            ก.         R  =  { x ç I }                              
ข.         R  =  { x ç I + }
             ค.         R  =  { x ç I –  }                                                                                                 
                        ง.         R  =  { x çx  =  1 , 2 , 3 , 4 }

            16.  กำหนดให้  D  =  { … , – 2 , 0 , 2 , … }  เขียนเซต  D  แบบบอก
       เงื่อนไขของสมาชิกได้ดังข้อใด
            ก.         { x çx  เป็นจำนวนเต็ม }                                
ข.         { x ç I  และ   2 < x < 2 }
            ค.         { x çx  =  2n  และ เป็นจำนวนจริง }          
ง.         { x çx  =  2n  และ เป็นจำนวนเต็ม }

17.  ให้  P  =  { 2 , 4 , 6 , …, 16 }  ข้อใดเป็นสมาชิกทั้งหมดของ  
            ก.         2 , 4 , 6 , 16    
ข.         8 , 10 , 12 , 14                                    
ค.         2 , 4 , 6 , 8 , 10 , 12 , 14 , 16
            ง.         1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 , 12 , 13 , 14 , 15 , 16

18.  ให้  A  =  { 1 , 2 , 3 , 4 , 12 , 34 }  เซต  A  มีสมาชิกกี่ตัว
            ก.         2                                                                     
            ข.         4
            ค.         6                                                                     
            ง.         8

19.  กำหนดให้  8  B  เซตในข้อใดสอดคล้องกับที่กำหนดให้
            ก.         B  =  { 8 }                                          
ข.         B  =  { 8 , 9 , 10 }
            ค.         B  =  { x çx < 8 }                               
ง.         B  =  { x ç6 < x < 10 }

20.  ถ้าให้  Q  =  { a , b , c }  ข้อใดผิด
            ก.         A  a                                                 
             ข.          A
ค.         d                                                              
ง.         Q  มีสมาชิก  3  ตัว

ที่มา:https://sites.google.com/a/ngwk.ac.th/kroo-chom/baeb-thdsxb-hlang-reiyn

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

1. ประพจน์
         ประพจน์ คือ ประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่มีค่าความจริงเป็นจริงหรือเท็จ
                                     อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
                    ตัวอย่าง
                     ประโยคที่เป็นประพจน์ 
                                ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์                                  (จริง)
                                จังหวัดลพบุรีไม่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย    (จริง)
                                5 ≠ 8                                                               (จริง)
                                19 + 4 ≠ 23                                                     (เท็จ)
                                π เป็นจำนวนตรรกยะ                                         (เท็จ)
                    ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ 
ได้แก่ ข้อความที่อยู่ในรูปของ คำถาม คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำอ้อนวอน คำแสดงความปรารถนา สุภาษิตคำพังเพย ประโยคเปิด เพราะข้อความดังกล่าวไม่สามารถบอกค่าความจริงได้
ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ 
                                คำถาม  เช่น  3 หารด้วย 2 มีค่าเท่าไร
                                คำสั่ง  เช่น  จงยืนขึ้น
                                คำขอร้อง  เช่น  ช่วยกันรักษาความสะอาด
                                คำอ้อนวอน  เช่น  โปรดเมตตาด้วยเถิด
                                คำแสดงความปรารถนา  เช่น  อยากเห็นหน้าเธออีกสักครั้ง
                                คำอุทาน  เช่น  โอ้ย
                                สุภาษิตคำพังเพย  เช่น  วัวหายล้อมคอก
                                ประโยคเปิด  เช่น  เขาเป็นนักกีฬา

.....................................................................................................................

2. การเชื่อมประพจน์
       ถ้าให้ p และ q เป็นประพจน์ เมื่อนำประพจน์มาเชื่อมกันด้วยตัวเชื่อมแล้ว เราเรัยกประพจน์ใหม่ว่า ประพจน์เชิงประกอบ ซึ่งตัวเชื่อมที่ใช้จะมี 5 ตัว คือ
                  1) ตัวเชื่อม และ  ใช้สัญลักษณ์ คือ "  "
                  2) ตัวเชื่อม หรือ  ใช้สัญลักษณ์ คือ   "
                  3) ตัวเชื่อม ถ้า... แล้ว...    ใช้สัญลักษณ์ คือ  "
                  4) ตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ  ใช้สัญลักษณ์ คือ " ↔ "
                  5) ตัวเชื่อม นิเสธ  ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย " ~ "

ตารางค่าความจริงของตัวเชื่อม


ข้อสังเกต
   1) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม และ  "  "  จะเป็น T เมื่อ p และ q เป็น T ทั้งคู่
   2) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม หรือ   "  จะเป็น F เมื่อ p และ q เป็น F ทั้งคู่
   3) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ถ้า... แล้ว...  "  จะเป็น F เมื่อ p เป็น T และ q เป็น F 
   4) การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ก็ต่อเมื่อ  " ↔ "  จะเป็น T เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน

.....................................................................................................................


3. การสร้างตารางค่าความจริง
      กำหนด p , q , r เป็นประพจน์ที่ไม่ได้กำหนดค่าความจริงมาให้ จะเรียกประพจน์ที่มีตัวเชื่อมว่า รูปแบบประพจน์ เช่น ~p , p ∧ q , p → q , ( p ∨ q ) ↔ r เป้นต้น
      ในการหาค่าความจริงของรูปแบบประพจน์ จะต้องพิจารณาค่าความจริงที่เป็นไปได้ของประพจน์ย่อยทุกกรณี โดยการสร้างตารางค่าความจริง
                                 จำนวนกรณีที่พิจารณา = 2กรณี
               เมื่อ n คือ จำนวนประพจน์ย่อยของรูปแบบประพจน์นั้น

.....................................................................................................................


4. ประพจน์ที่สมมูลกัน
      ประพจน์สองประพจน์ใด จะสมมูลกันก็ต่อเมื่อประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี ใช้สัญลักษณ์ ≡ แทนคำว่า สมมูล ประพจน์ที่สมมูลกันจะสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากมีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี
          การตรวจสอบว่าประพจน์สมมูลกันหรือไม่ ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

4.1 ใช้ตารางแสดงค่าความจริง
  ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าประพจน์ต่อไปนี้สมมูลกันหรือไม่
1. → q กับ  ~∨ q

จะเห็นว่า ค่าความจริงของ → q กับ  ~∨ q ตรงกันกรณีต่อกรณี
ดังนั้น → q สมมูลกับ  ~∨ q

2. ~p ∧ q กับ → q

จะเห็นว่า ค่าความจริงของ ~p ∧ q กับ → q มีบางกรณีต่างกัน
ดังนั้น ~p ∧ q ไม่สมมูลกับ → q

4.2 ใช้รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน
     รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกันที่สำคัญ
1. p ∧ ~≡ F
2. p ∨ ~p ≡ T
3. p ∧ T ≡ p
4. p ∨ F ≡ p
5. ~(~p) ≡ p
6. p ∨ q ≡ q ∨ p
7. p ∧ q ≡ q ∧ p
8. ( p ∨ q ) ∨ r ≡ p ∨ ( q ∨ r ) ≡ p ∨ q ∨ r
9. ( p ∧ q ) ∧ r ≡ p ∧ ( q ∧ r ) ≡ p ∧ q ∧ r 
10. p ∨ ( q ∧ r ) ≡ ( p ∨ q ) ∧ ( p ∨ r )
11. p ∧ ( q ∨ r ) ≡ ( p ∧ q ) ∨ ( p ∧ r )
12. ~( p ∨ q ) ≡ ~p ∧ ~q
13. ~( p ∧ q ) ≡ ~p ∨ ~q
14. p → q ≡ ~q → ~p
15. p → q ≡ ~p ∨ q
16. ~( p → q ) ≡ p ∧ ~q
17. p ↔ q ≡ ( p → q ) ∧ ( q → p )

.....................................................................................................................

5. สัจนิรันดร์
   ประพจน์ที่เป็นสัจนิรันดร์ คือ รูปแบบของประพจน์ที่มี ค่าความจริงเป็นจริงเสมอ ไม่ว่าประพจน์ย่อยจะมีค่าความจริงเป็น จริง หรือ เท็จ ก็ตาม เช่น ∨ ~p , → p , ~( p  ~p ) , ↔ p เป็นต้น
   การตรวจสอบว่าประพจน์ใดเป็นสัจนิรันดร์ ทำได้ดังนี้
 1. ใช้ตารางแสดงค่าความจริง
     ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าประพจน์ต่อไปนี้ เป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
      1. [ ( → q ) ∧ p ] → q

จะเห็นว่ารูปแบบของประพจน์  [ ( → q ) ∧ p ] → q มีค่าจริงเป็นจริงทุกกรณี
ดังนั้น [ ( → q ) ∧ p ] → q เป็น สัจนิรันดร์

2. ใช้วิธีการหาข้อขัดแย้ง
    ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าประพจน์ต่อไปนี้ เป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
     1.  q ) → ( q ∨ p )
         วิธีทำ สมมุติว่า  q ) → ( q ∨ p ) เป็นเท็จ


จากแผนภาพ จะเห็นว่า ค่าความจริงของ p และ q เป็นได้ทั้งจริงและเท็จ
แสดงว่าไม่มีกรณีที่ทำให้  q ) → ( q ∨ p ) เป็นเท็จ
ดังนั้น รูปแบบของประพจน์  q ) → ( q ∨ p ) เป็นสัจนิรันดร์

.....................................................................................................................

6. การอ้างเหตุผล

การอ้างเหตุผลจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
1. ส่วนที่เป็น เหตุ หรือ สิ่งที่กำหนดให้ ซึ่งได้แก่ P1 , P2 , P3 , … , Pn
2. ส่วนที่เป็น ผล ซึ่งได้แก่ Q

ในการอ้างเหตุผลอาจจะสมเหตุสมผล (valid) หรือไม่สมเหตุสมผล (invalid) ก็ได้ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ

คือใช้ สัจนิรันดร์ โดยเชื่อมเหตุทุกเหตุด้วยตัวเชื่อม ∧ แล้ว นำเหตุกับผลมาเชื่อมด้วยตัวเชื่อม → ดังนี้
ถ้า รูปแบบ ( P1  P2  P3  …  P)  Q เป็นสัจนิรันดร์ แสดงว่า การอ้างเหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
ถ้า รูปแบบ ( P1  P2  P3  …  P)  Q ไม่เป็นสัจนิรันดร์ แสดงว่า การอ้างเหตุผลนี้ ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
     เหตุ 1. → q
            2.  p
     ผล         q
วิธีทำ ขั้นที่ 1 ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล
                  จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [( → q ) ∧ p] → q
        ขั้นที่ 2 ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่


จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [( → q ) ∧ p] → q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล

.....................................................................................................................

7. ประโยคเปิด
    ประโยคเปิด หมายถึง ประโยคบอกเล่า หรือ ประโยคปฏิเสธที่มีตัวแปร ประโยคเปิดจะไม่เป็นประพจน์ แต่เมื่อแทนค่าตัวแปรด้วยสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์แล้วประโยคเปิดนั้นจะเป็นประพจน์
    เช่น เขาเป็นนักดนตรี เป็นประโยคเปิด มีคำว่า "เขา" เป็นตัวแปร
           x + 5 < 0 เป็นประโยคเปิด มี x เป็นตัวแปร
           7x-2 ไม่เป็นประโยคเปิด เพราะเมื่อแทนค่า x แล้ว ไม่เป็นประพจน์
    สัญลักษณ์แทนประโยคเปิดใดๆ  ที่มี x เป็นตัวแปร เขียนแทนด้วย P(x)

.....................................................................................................................

8. ตัวบ่งปริมาณ    

.....................................................................................................................

9. ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณตัวแปรเดียว
     ประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณนั้น โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
          1. ส่วนที่้เป็นตัวบ่งปริมาณ
          2. ส่วนที่เป็นประโยคเปิด
          3. ส่วนที่เป็นเอกภพสัมพัทธ์

.....................................................................................................................

10. ค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณสองตัว
การหาค่าความจริงของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณสองตัว มีหลักการดังนี้
          กำหนดให้ แทนเอกภพสัมพัทธ์
          และ P(x,y) แทนประโยคเปิดที่มี x , y เป็นตัวแปร

ที่มา:http://logicmathtru.blogspot.com/p/blog-page_56.html